ประวัติ

วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ เดิมชื่อ”โรงเรียนช่างไม้อุตรดิตถ์” เปิดทำการสอน เมื่อวันที่29 มิถุนายน 2480

ตั้งอยู่เลขที่ 17 ถนนอินใจมี ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ. อุตรดิตถ์ บนพื้นที่ 16 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา (ปัจจุบันคือวิทยาลัยสารพัดช่างอุตรดิตถ์)

17 พฤษภาคม 2503 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนการช่างอุตรดิตถ์”

1 มกราคม 2522 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น”โรงเรียนเทคนิคอุตรดิตถ์”

1 เมษายน 2524 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะเป็น “วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์”

17 พฤษภาคม 2529 ได้ย้ายสถานศึกษาจากเลขที่ 17 ถนนอินใจมี ต.ท่าอิฐ มายังเลขที่ 81หมู่ 2

ถนนพาดวารี ต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ มายังเลขที่ 81 หมู่ที่ 2 ถนนพาดวารี ต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ. อุตรดิตถ์

พ.ศ. 2527 ได้อาคารปฏิบัติการแผนกไฟฟ้ากำลัง จำนวน 1 หลัง เมื่อปี พ.ศ. 2527 เป็นอาคาร 3 ชั้น

พื้นที่ใช้สอย 1,458 ตารางเมตร วงเงิน 2,450,000 บาท แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลังให้มาเรียนในอาคารสร้างใหม่ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2529

พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณการก่อสร้าง โรงฝึกงานช่างก่อสร้าง 1 หลัง แบบ 2 จั่ว พื้นที่ใช้สอย 960 ตารางเมตร วงเงิน 1,797,000 บาท และได้ย้ายแผนกวิชาช่างก่อสร้างมาเรียนในโรงฝึกงานใหม่ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2531

พ.ศ. 2533ได้รับงบประมาณการก่อสร้าง อาคารเรียน และอาคารปฏิบัติการแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอาคาร 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 1,920 ตารางเมตร วงเงิน 7,400,000 บาท 1 หลัง และใช้เป็นที่ทำการเรียนการสอน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2535

พ.ศ. 2535 ได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้น 1 หลัง พื้นที่ใช้สอย 1,458 ตารางเมตร วงเงิน 6,200,000 บาท และปีงบประมาณ 2537 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนอีก 1 หลัง 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอย1,920 ตารางเมตร วงเงิน 10,230,000 บาท กำลังดำเนินการก่อสร้าง

พ.ศ.2538 ได้รับชดเชยจากกองการศึกษาและอาชีพ เป็นงบผูกพันงบประมาณ 2538-2540 วงเงิน 35,052,200 บาท เป็น

1. อาคารโรงฝึกงาน 4 ชั้น 1 หลัง เป็นเงิน 20,523,117 บาท

2. บ้านพักครูแบบแฟลต 14 หน่วย ราคา 11,388,886 บาท

3. บ้านพักผู้บริหารระดับ 7-8 จำนวน 4 หลัง เป็นเงิน 2,424,327 บาท

4. บ้านพักภารโรง 2 หน่วย 2 หลัง 675,508 บาท

รวมเป็นเงิน 35,011,883 บาท

ต่อรองราคาแล้วคงเหลือ 34,300,000 บาท

โดยใช้งบประมาณ ปี 2538 3,500,000 บาท

ปี 2540 16,800,000 บาท

ปี 2541 14,000,000 บาท

พ.ศ. 2539 ได้อาคารโรงฝึกงานแผนกช่างกลโรงงานพื้นที่ใช้สอย ไม่ต่ำกว่า 4,000 ตารางเมตร 1 หลัง งบประมาณ 20,800,000 บาท โดย

ปี 2539 ได้งบประมาณ 1,500,000 บาท

ปี 2540 ผูกพันงบประมาณ 14,000,000 บาท

ปี 2541 ผูกพันงบประมาณ 5,300,000 บาท

พ.ศ. 2541 ได้อาคารโรงฝึกงานแผนกช่างยนต์ พื้นที่ใช้สอย ไม่ต่ำกว่า 4,000 ตารางเมตร 1 หลัง งบประมาณ 18,900,000 บาท

ปี 2541 ได้งบประมาณ 1,000,000 บาท

ปี 2542 ผูกพันงบประมาณ 12,000,000 บาท

ปี 2543 ผูกพันงบประมาณ 5,900,000 บาท

พ.ศ. 2542 ได้โรงอาหารเอนกประสงค์ พื้นที่ใช้สอย 80 ตารางเมตร งบประมาณ 3,000,000 บาท และได้งบประมาณเดินไฟฟ้าเข้าเครื่องจักร 500,000 บาท